ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บทที่1 ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา


ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา
             ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา  ได้ให้คำนิยามไว้ว่า
                   วัสดุ (Materials) คือผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ สิ่งที่มีการผุพังสิ้นเปลืองได้ง่าย เช่น ชอล์ก ดินสอ กระดาษ ฟิล์ม
                   อุปกรณ์ (Equipment) คือผลิตผลทางวิศวกรรมที่เป็นเครื่องมือต่างๆ เช่น กระดานดำ โต๊ะ เก้าอี้ เครื่องฉาย             เครื่องเสียง เครื่องรับโทรทัศน์
                   วิธีการ (Techniques) เป็นกระบวนการที่ต้องคำนึงถึงหลักจิตวิทยา หลักสังคมวิทยา ภาษา ที่ได้นำมาใช้ในการศึกษา เช่น การสาธิต ทดลอง

             ขอบข่ายตามแนวตั้งของการวิจัยทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
                   ขอบข่ายตามแนวตั้งครอบคลุม  การวิจัยด้านการจัดระบบทางการศึกษา  การวิจัยด้านพฤติกรรมการเรียนการสอน  วิธีการสอนสื่อสารการศึกษา  สภาพแวดล้อมทางการศึกษา  การจัดการด้านการเรียนการสอนและการประเมินการศึกษา
                  
                   การจัดระบบ เป็นแขนงวิชาในสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาที่เป็นเครื่องมือสำคัญของแขนงวิชาอื่น  ซึ่งจำเป็นต้องใช้การจัดระบบการพัฒนาระบบ  และการออกแบบระบบมาใช้  ขอบข่ายการวิจัยในด้านนี้จึงมุ่งที่การจัดระบบ  การพัฒนาระบบ  และการออกแบบระบบขั้นใหม่
                         การจัดระบบ (Systems Approach)  เป็นการวางแผนการพัฒนาระบบใหม่หรือปรับปรุงระบบที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น ด้วยการกำหนดปรัชญา ปณิธาน จุดมุ่งหมาย องค์ประกอบ ภาระหน้าที่ ความสัมพันธ์/ปฏิสัมพันธ์  ขั้นตอน  ปัจจัยเกื้อหนุนและแนวทางการประเมินและควบคุม  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานหรือแก้ปัญหาการดำเนินงาน  ซึ่งมีความสำคัญต่อการกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่มีคุณภาพ  การจัดระบบมีขอบข่าย  ระดับ  และองค์ประกอบระบบ  โดยมีขั้นตอนหลักที่ครอบคลุม  การวิเคราะห์ระบบ  การสังเคราะห์ระบบ การสร้างแบบจำลองระบบ  และการทดสอบระบบในสถานการณ์จำลอง
                         การพัฒนาระบบ (Systems Development)  เป็นการสร้างระบบขึ้นมาใหม่หรือเป็นการปรับปรุงระบบที่มีอยู่แล้วให้ทำงานได้ดีขึ้น  การพัฒนาระบบมีวิธีการหลายวิธี  หากต้องการระบบที่มีคุณภาพจำเป็น ต้องใช้วิธีการจัดระบบเป็นเครื่องมือ
                         การออกแบบระบบ (Systems Design)  เป็นขั้นตอนของการสังเคราะห์ระบบ และการสร้างแบบจำลองระบบที่เกี่ยวข้องกับการนำองค์ประกอบมาจัดเรียงลำดับให้อยู่ในขั้นตอนที่เหมาะสม  เพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                   พฤติกรรมการเรียนการสอน  การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่เป็นประโยชน์การวางแผนและจัดสภาพการณ์ให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 
                         การวิจัยในขอบเขต มุ่งไปที่การศึกษาค้นคว้ารูปแบบพฤติกรรมการเรียน (Learning Behavior) เกี่ยวกับผู้เรียนและพฤติกรรมการสอน (Teaching Behavior) เกี่ยวกับครูบาอาจารย์  และการประยุกต์รูปแบบการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแต่ละประเภทต้องใช้รูปแบบการสอนที่แตกต่างกัน เช่น ครู

                   วิธีการ  ครอบคลุม วิธีการศึกษาโดยทั่วไปและวิธีการเรียนการสอน
                         วิธีการเรียนการสอน (Instructional Methods/Techniques) ประยุกต์แนวคิดและหลักการทางการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมาใช้เป็นเครื่องมือ  สื่อหรือช่องทางในการถ่ายทอดเนื้อหาสาระและประสบการณ์
                         การวิจัยของนักเทคโนโลยีการศึกษาแขนงนี้ มุ่งไปที่การค้นหาวิธีการสอนแบบใหม่  ทั้งที่เป็นระบบการสอนแบบครบวงจรและ ที่เป็นเพียงเทคนิค  และวิธีการสอนเฉพาะเรื่อง  สำหรับนำไปใช้ในระบบการสอนที่มีผู้คิดขึ้นมาแล้ว  เช่นการพัฒนาโครงการจากกรณีงาน (PCW-Project Casework Approach)  เป็นต้น

                   การสื่อสาร  ครอบคลุม  การสื่อสารการศึกษาและการสื่อสารการสอน                                                                            
                         นิยมใช้คำว่า การสื่อสารการศึกษา   เพื่อแทนทั้งสองกลุ่มสื่อสารการศึกษา (Educational Media)  เป็นขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษาที่รู้จักกันมาก โดยเฉพาะคำว่า 
อุปกรณ์การสอน  โสตทัศนูปกรณ์ ฯลฯ  สื่อการศึกษา  และสื่อการเรียนการสอน ถือเป็นเครื่องมือและองค์ประกอบสำคัญของระบบการสอน  และวิธีการสอนที่พัฒนาขึ้นแล้ว  หรือที่จะต้องพัฒนาขึ้น 
                         การวิจัยในขอบข่ายนี้  มุ่งไปที่การพัฒนาประเภทและรูปแบบสื่อการสอนใหม่และเปรียบเทียบผลกระทบของสื่อการสอนประเภทต่างๆ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่อพฤติกรรมการบริหารนักวิชาการและนักบริหาร

                   สภาพแวดล้อมทางการศึกษา  ครอบคลุมประเภทและการจัดการ  จำแนกเป็น  สภาพแวดล้อมทางกายภาพ  สภาพแวดล้อมทางจิตภาพ  และสภาพแวดล้อมทางสังคม 
                         สภาพแวดล้อมทางกายภาพ  ได้แก่  แหล่งการเรียนรู้ในชุมชนบริเวณโรงเรียน  สนาม  อาคารเรียน  ห้องสมุด 
                         สภาพแวดล้อมทางจิตภาพ  ได้แก่ บรรยากาศ ความอบอุ่นทางใจ  ความไว้วางใจ  ความกระตือรือร้น  ฯลฯ
                         สภาพแวดล้อมทางสังคม  หมายถึง  ขนบธรรมเนียมประเพณี  กฎ  ระเบียบ  เป็นการจัดสภาพแวดล้อมทางการศึกษา  เป็นการจัดภาวะที่อยู่รอบตัวผู้เรียนและผู้สอน ที่เกื้อหนุนให้เกิดการเรียนรู้หรือเป็นแหล่งการเรียนรู้
                         การวิจัยในขอบข่ายนี้  เกี่ยวกับการศึกษาวิจัยหารูปแบบการจัดห้องเรียน  ห้องฝึกอบรม  การจัดแหล่ง ห้องปฏิบัติการ  พิพิธภัณฑ์และอุทยาการศึกษาที่จะเอื้อต่อการเรียนรู้มากที่สุด 

                   การจัดการ  ครอบคลุม  การจัดการศึกษา  และการจัดการเรียนการสอน 
                         มุ่งที่การจัดหาและใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยที่การจัดการศึกษา  เป็นหน้าที่ของผู้บริหาร  ภารกิจของนักเทคโนโลยีการศึกษาจึงเน้นการเรียนการสอน (Learning Management)  เกี่ยวข้องกับการจัดทรัพยากรคน  คือ  ครูกับนักเรียน  และทรัพยากรในรูปอื่นคือ  เวลา  อาคาร  สถานที่  และสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี  และมากที่สุดในเวลาที่น้อยที่สุด
                         การวิจัยด้านการจัดการด้านการเรียนรู้ มุ่งที่การจัดการนำหลักสูตรมาใช้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ ที่กำหนดไว้  หลักสูตรที่ได้พัฒนามาอย่างดี  และระบบการสอนที่มีคุณภาพ  หากขาดการจัดการที่ดีก็อาจด้อยประสิทธิภา

                   การประเมิน  ครอบคลุม  การประเมินที่ครบวงจร 
                         การประเมินปัจจัยนำเข้า  การประเมินกระบวนการ  และการประเมินผล  ที่เป็นการประเมินในวงกว้าง  คือ การประเมินการศึกษา  และในวงแคบ  คือ  การประเมินการเรียนการสอน
                         การวิจัยในขอบข่ายนี้  มุ่งที่จะได้รูปแบบการวัดและการประเมิน  การวิเคราะห์และแปลผลการสรุป  และการนำผล  มาประเมินกิจกรรมที่เกี่ยวกับการศึกษาและการเรียนการสอน 

             ขอบข่ายในแนวนอนของการวิจัยทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 
                   จำแนกเป็น ด้านบริหาร  ด้านวิชาการ  และด้านบริการ
                         ขอบข่ายทางด้านบริหาร  เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเป็นเครื่องมือในการจัดระบบการบริหารการกำหนดพฤติกรรมการบริหาร  วิธีการบริหาร  การสื่อสารในองค์กร  การจัดสภาพแวดล้อมด้านการบริหาร การจัดการ  และการประเมิน การบริหาร
                         การวิจัยในขอบข่ายนี้  มุ่งที่จะหารูปแบบการบริหารที่เหมาะสมด้วยการหาระบบใหม่  รูปแบบพฤติกรรมการบริหาร  วิธีการบริหารและจัดการ ฯลฯ  เพื่อช่วยให้ผู้บริการสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์
                        
                         ขอบข่ายทางด้านวิชาการ  เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเป็นเครื่องมือในการจัดระบบงานทางวิชาการ  อาทิ  การพัฒนาหลักสูตร  การผลิตงานทางวิชาการ ฯลฯ  ในการกำหนดพฤติกรรมครูและนักเรียน การกำหนดวิธีการเรียนการสอนในการสื่อสารการเรียนการสอน 
จัดสภาพแวดล้อมด้านการเรียนการสอน  ด้านการเรียนการสอน  และการประเมินการเรียนการสอน
                               การวิจัยด้านนี้  มุ่งในการจัดระบบหารูปแบบงานวิชาการ  เช่น  รูปแบบหลักสูตรและ การสอน  การกำหนดวิธีสอน  การใช้สื่อการสอน  การจัดสภาพแวดล้อม  และการประเมินการเรียนการสอน  เป็นต้น
                          ขอบข่ายทางด้านบริการ  เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเป็นเครื่องมือในการจัดระบบงานบริหาร  การกำหนดพฤติกรรมการบริการ  วิธีการบริการ  การสื่อสารในการให้บริการ  การจัดสภาพแวดล้อมด้านการบริการ  การจัดการด้านการให้บริการ  และการประเมินการบริการ
                               การวิจัยเกี่ยวกับการบริการ  จึงมุ่งไปที่การหาข้อมูลที่จะนำมาเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ  เช่น  การจัดระบบและรูปแบบ  วิธีการ  การจัดสภาพแวดล้อม  และการประเมินการให้บริการครูและนักเรียน  เป็นต้น

             ขอบข่ายในแนวลึกของการวิจัยทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 
                   การใช้เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาใน  (1) การ ศึกษาในระบบโรงเรียน จำแนกออกตามระดับเป็นการใช้เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาในระดับปฐมวัยศึกษา  ประถมศึกษา  มัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษา (2) การศึกษานอกระบบโรงเรียน  (3) การฝึกอบรม  และ (4) การศึกษาทางไกล
                   การศึกษาในระบบโรงเรียน  เป็นการใช้ตามระดับชั้น  ได้แก่  การจัดระบบการสอน และการใช้สื่อการสอนในระดับปฐมวัยศึกษา  พฤติกรรมครูและนักเรียนประถมศึกษา  วิธีการสอนวิชาเฉพาะ และจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอน  เป็นต้น  รวมถึงการนำเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษามาใช้ในการศึกษาเฉพาะด้าน  เช่น  อาชีวศึกษา  เกษตรศึกษา  เทคนิคศึกษา ฯลฯ
                  

                   การศึกษานอกระบบโรงเรียน  มุ่งให้การศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิตแก่ผู้ที่อยู่นอกระบบโรงเรียนที่มีความต้องการเพิ่มพูนความรู้ของตนให้สูงขึ้น เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยในการจัดระบบ  และถ่ายทอดเนื้อหาสาระ  ให้ประชาชน  รวมถึงการนำเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษามีความรู้สำคัญในการส่งเสริม (Extension)  และการเผยแพร่ (Dissemination)  ด้วยอีกขอบข่ายหนึ่ง  คือ  การใช้เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษามาใช้ในการศึกษาทางไกล (Distance Education) ในนัยเดียวกันกับการศึกษาในและนอกระบบโรงเรียน
             การวิจัยเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเกี่ยวกับขอบข่ายตามแนวลึก  จึงเป็นการวิจัยที่หวังผลการวิจัยมาใช้ในสถานการณ์ที่จำเพาะเจาะจงมากกว่าการวิจัยที่อิงขอบข่ายตามแนวตั้งและแนวนอน




Onnicha Phokaeo.//(423210Principle&Theory in ED.Tech).//ความหมายและความสำคัญและ
                   ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา,วันที่สืบค้น 6 สิงหาคม 2555 . จาก
ศ.ดร.ชัยยงค์  พรหมวงศ์.//(ขอบข่ายทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา).//ขอบข่ายทางเทคโนโลยี
                   และสื่อสารการศึกษา,วันที่สืบค้น 6 สิงหาคม 2555
จาก [DOC]ขอบข่ายทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา images.jiwkuff03.multiply.multiplycontent.com/.../งาน.doc 













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น