ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บทที่ 2 AV


การประยุกต์ใช้สื่อโสตทัศน์เพื่อการศึกษา (AV)
             เป็นสื่อที่ผู้รับสามารถรับได้ทั้งภาพ และหรือเสียง  สื่อโสตทัศน์ แบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นสื่อวัสดุ และส่วนที่เป็น สื่ออุปกรณ์  สื่อวัสดุอาจจะสามารถใช้ได้ด้วยตัวเองโดยตรง เช่น ภาพวาด แบบจำลอง หรือของตัวอย่าง หรืออาจต้องนำไปใช้ร่วมกับสื่ออุปกรณ์ เช่นเทปบันทึกเสียง เทปวีดีทัศน์ ฟิล์ม ภาพยนตร์ แผ่นดิสเก็ต แผ่นซีดีรอม เป็นต้น ส่วนที่เป็นสื่ออุปกรณ์ ได้แก่ เครื่องเล่นเทปบันทึกเสียง เครื่องเล่นวีดีทัศน์ เครื่องฉายภาพยนตร์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยภาพรวมแล้ว สื่อโสตทัศน์มีข้อดีคือมีความน่าสนใจ เป็นสื่อที่คงทนถาวร นำมาใช้ได้บ่อยครั้ง และสามารถคัดลอกเพื่อนำไปใช้ที่อื่นได้ง่าย แต่มีข้อจำกัดคือต้องใช้อุปกรณ์ซึ่งบางประเภทมีราคาแพง และต้องมีความรู้ในการใช้ และจำเป็นต้องใช้

             ระบบการฉาย
                   เครื่องฉายภาพทึบแสง (Cpaqua Projector)

                   

                      
                   เป็นเครื่องที่สามารถใช้ในการ presentงาน โดยเฉพาะการสอน แทนเครื่องฉายภาพทึบแสงโดยทั่วไป การควบคุมและการปรับความคมชัด สามารถปรับได้จาก กล้อง ระยะกล้อง และปุ่มปรับตัวคมชัด  มีสวิตช์เลือกอินพุตในการนำเสนอจากคอมพิวเตอร์ และจากกล้องในกรณีการสอนที่ใช้สื่อผสม และแสดงผลโดยต่อกับโทรทัศน์ และVideo Projector

                   เครื่องฉายภาพทึบแสงที่มีต่อการเรียนการสอน
                         สามารถฉายวัสดุทึบแสงได้ตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาด 10x10 นิ้ว ให้ภาพขนาดใหญ่ชัดเจนมีสีสันเหมือนต้นฉบับในห้องที่มืดสนิท ใช้ขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการวาด เช่น การขยายแผนที่ และขยายภาพเล็ก ๆ จากหนังสือ หรือจากที่อื่น ๆ ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น นำผลงานของผู้เรียนมาวิเคราะห์หรือให้ดูพร้อมกันทั้งชั้นได้สะดวก ใช้ฉายวัสดุที่ไม่ต้องการให้ผู้ชมจับต้องมากนัก เพราะอาจทำให้ชำรุด เสียหาย เช่น ตัวอย่างแร่ หิน หนังสือพิมพ์เก่าแก่        หรือของในพิพิธภัณฑ์สามารถฉายให้เห็นรายละเอียดของเส้นด้าย ผ้า หรือเยื่อของวัสดุฉายให้ผู้เรียนได้เห็นรูปร่างลักษณะของเครื่องมือที่มีขนาดไม่ใหญ่โต มากนัก ใช้สอนได้ทุกวิชาและทุกระดับชั้น

                   การติดตั้ง 
                         1. ตั้งเครื่องฉายภาพทึบแสงบนโต๊ะหรือแท่นวางโดยให้เลนส์ฉายหันไปทางจอภาพ ระวังอย่าตั้งเครื่องฉายในด้านของพัดลมระบายอากาศชิดผนังหรือวัตถุอื่นเพราะจะทำให้ไม่สามารถระบายความร้อนได้
                         2.  ตรวจสอบสวิตช์หลอด O (Stand By ) ฉายว่าอยู่ในตำแหน่ง  
                         3.  เสียบสายปลั๊กเครื่องฉายเข้ากับเต้าเสียบ กดสวิตช์หลอดฉายให้อยู่ในตำแหน่ง NORMAL 
                         4.  ปิดไฟในห้องให้มืดสนิท

                    ขั้นตอนการใช้เครื่องฉายวัสดุทึบแสง
                         1. ตั้งเครื่องฉายบนโต๊ะหรือขาตั้งที่แข็งแรงและสามารถเคลื่อนย้ายได้
                         2.วางวัสดุฉายบนแท่นซึ่งอยู่ด้านล่างส่วนหลังของเครื่องฉาย โดยให้หัวของวัสดุฉายหรือภาพหันเข้าหาผู้ฉาย ซึ่งผู้ฉายจะอยู่ด้านหลังของเครื่องฉาย
                         3.ปรับคันบังคับแท่นวางวัสดุฉายให้แนบสนิทกับตัวเครื่องจึงจะได้ภาพชัดเจนทั่วทั้งภาพ
                         4. เสียบปลั๊กไฟเอ ซี และเปิดฝาครอบเลนส์ฉาย
                         5. เปิดสวิตช์พัดลมและปิดไฟภายในห้องฉายให้มืดสนิท
                         6. เปิดสวิทซ์หลอดฉาย ถ้าไม่ปรากฏภาพบนจออาจเกิดจากความมึกในห้องไม่เพียงพอหรือระยะห่างจากเครื่องฉายกับจอไม่เหมาะสม ควรเลื่อนเครื่องฉายเข้าหาหรือออกห่างจนกว่าจะได้ภาพชัดเจนหรืออาจจะลืมเปิดฝาครอบเลนส์ก็ได้
                         7. ปรับขยาดของภาพบนจอ ถ้าต้องการภาพขนาดใหญ่ขึ้นให้เลื่อนฉายออกห่างจอแต่ถ้าต้องการภาพขนาดเล็กลงก็เลื่อนเครื่องเข้าใกล้จอ
                         8. ปรับปุ่มคุมความชัดของภาพ
                         9. ปรับปุ่มควบคุมลูกศร เพื่อชี้ส่วนต่าง ๆ ของภาพ
                         10. เมื่อใช้เครื่องฉายนานๆ ควรหยุดพักเครื่องสักระยะหนึ่ง เพราะความร้อนจากหลอดฉายอาจทำให้วัสดุฉายชำรุดเสียหายได้
                         11. เมื่อใช้งานเสร็จแล้ว ปิดสวิตซ์หลอดฉายทันที แต่ยังคงเปิดสวิตซ์พัดลมให้ทำงานต่อไป ในช่วงเวลานี้ไม่ควรเคลื่อนย้ายเครื่องฉายจนกว่าหลอดฉายจะเย็น จึงปิดสวิตซ์พัดลม
                         12. เก็บวัสดุฉายโดยควบคุมที่หมุนแท่นวางวัสดุฉายหรือควยคุมคันปรับแท่นวางวัสดุ

                   เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ


                         เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เป็นเครื่องฉายที่จัดอยู่ในระบบฉายอ้อม ใช้สำหรับฉายภาพ วัสดุ หรือเครื่องมือที่โปร่งใส โดยเขียนข้อความหรือวาดภาพบนแผ่นโปร่งใส โดยทั่วไปจะมีคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องฉาย ดังนี้ 
                               1.ใช้สอนได้ทุกวิชา เพราะใช้แทนกระดานชอล์กได้ 
                               2.ห้องฉายไม่จำเป็นต้องควบคุมแสงสว่างมากนัก ห้องเรียนธรรมดาก็ฉายได้ผู้เรียน สามารถเห็นภาพบนจอได้ชัดเจน 
                               3.เครื่องฉายมีน้ำหนักเบา ใช้และบำรุงรักษาง่าย 
                               4.สามารถตั้งไว้หน้าชั้นหรือที่โต๊ะบรรยาย เวลาสอนหรือบรรยาย ในขณะที่ใช้เป็นการ สะดวกในการสังเกตความสนใจของผู้เรียนเพื่อจะได้ปรับปรุงการสอนได้อย่างเหมาะสม 
                               5.ประหยัดเวลาในการวาดรูปหรือเขียนคำอธิบาย ผู้สอนสามารถวาด
หรือเขียนบนแผ่นโปร่งใสมาก่อนล่วงหน้า ทำให้การเรียนการสอนเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและสะดวกต่อผู้สอน

                         ข้อแนะนำในการใช้เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ
                               1.ใช้วัสดุปลายแหลม เช่น ปลายปากกา  หรือแผ่นพลาสติกทำเป็นปลายลูกศร       
ชี้ข้อความหรือภาพบนแผ่นโปร่งใสประกอบการบรรยาย อย่าใช้นิ้วในการชี้อย่างเด็ดขาด 
                               2.ใช้กระดาษวางทับบนแท่นฉายขณะเปลี่ยนแผ่นโปร่งใสเพื่อมิให้มีแสงปรากฏบนจอภาพเปล่า ซึ่งจะทำให้ผู้ดูเสียสายตา 
                               3.อย่าวางแผ่นโปร่งใสบนแท่นฉายนานเกินควรขณะบรรยาย หากใช้แผ่นโปร่งใสนั้นแล้วและยังไม่ใช้แผ่นต่อไป  ให้ปิดไฟหลอดฉายก่อน เพื่อถนอมอายุหลอดไฟในการใช้งาน หากมีแผ่นกระดาษปิดด้านหน้าแผ่นโปร่งใสในการเก็บรักษา  เมื่อนำแผ่นโปร่งใสนั้นมาใช้ต้องระวัง              ไม่ให้แผ่นกระดาษนั้นห้อยบังพัดลมระบายความร้อนของเครื่อง  เพราะจะทำให้ไม่สามารถระบายความร้อนได้เต็มที่ซึ่งจะทำให้หลอดฉายร้อนเกินไปและหลอดขาดได้

                         การผลิตแผ่นใส
  
                         วิธีการเขียนลงบนแผ่นใส (Direct Drawing Method) เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุด โดยการใช้ ปากกาเขียนแผ่นใสเขียนลงบนแผ่นพลาสติก ซึ่งผู้สอนไม่ว่าจะผลิตแผ่นใสวิธีใดก็ตาม ควรคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้
                                1.ผู้สอนควรทำแผ่นใสในแนวนอนเพราะทำให้ฉายได้สะดวกและมองเห็นได้ดี
                                2.ผู้สอนควรออกแบบให้น่าสนใจ ไม่ซับซ้อน
                                3.แผ่นใสหนึ่งแผ่นควรนำเสนอเพียงมโนมติเดียว ถ้าเป็นภาพก็ประมาณ 3-4 ภาพ
เพื่ออธิบายมโนมตินั้น
                                4.เขียนเฉพาะข้อความที่จำเป็นเท่านั้น
                                5.เขียนให้อ่านง่าย
                                6.ถ้ามีเนื้อหาซับซ้อนให้ใช้การซ้อนภาพ (Overlay) โดยเพิ่มคำหรือข้อมูลลงบนแผ่นใสหลายแผ่นแล้ววางซ้อนกันไปเรื่อย ๆ แต่ก็ไม่ควรมากเกินไป

                         เครื่องฉายสไลด์


             หลักการทำงานของเครื่องวิชวลไลเซอร์จะเป็นการใช้กล้องถ่ายภาพของวัตถุเพื่อแปลงเป็น
สัญญาณไฟฟ้าก่อนที่จะแปลงกลับเป็นสัญญาณภาพอีกครั้งหนึ่ง  การเสนอภาพนิ่งจะเป็นการวางวัสดุฉายลงบนแท่นฉายเพื่อให้กล้องที่อยู่เหนือแท่นฉายจับภาพวัสดุ  โดยสามารถใช้ฉายได้ทั้งวัสดุทึบแสง เช่น  ภาพและข้อความบนสิ่งพิมพ์  วัสดุ  3  มิติ  วัสดุกึ่งโปร่งแสงและโปร่งใส  เช่น  ฟิล์มสไลด์และแผ่นโปร่งใส
                        
                         ประโยชน์ของเครื่องวิชวลไลเซอร์
                                การใช้เครื่องวิชวลไลเซอร์ในการเรียนการสอนมีประโยชน์ดังนี้   
                                      1.สามารถใช้ในการเสนอวัสดุได้ทุกประเภททั้งวัสดุทึบแสง วัสดุ  3  มิติ  รวมถึงวัสดุกึ่งโปร่งแสง และวัสดุโปร่งใส
                                      2.ใช้เป็นกล้องโทรทัศน์วงจรปิดเพื่อเสนอภาพวัตถุและการสาธิตภายในห้องเรียน
                                      3.ให้ภาพที่ชัดเจน  สามารถขยายภาพและข้อความจากสิ่งพิมพ์ให้อ่านอย่างทั่วถึง
                                      4.สามารถใช้กล้องตัวรองเป็นกล้องวีดิทัศน์เคลื่อนที่ได้
            
                   การใช้เครื่องฉายสไลด์
                                1.ใส่สไลด์ลงในถาดกลมหรือกล่องสี่เหลี่ยม โดยให้ด้านมันหันเข้าหาหลอดฉายและให้ภาพอยู่ในลักษณะหัวกลับ
                                2.นำถาดหรือกล่องหรือกลักที่บรรจุสไลด์เรียบร้อยแล้วใส่หรือวางบนเครื่องฉาย                                3.เสียบปลั๊กไฟจากตัวเครื่องกับแหล่งจ่ายไฟ (บางเครื่องพัดลมจะทำงานทันที)
                                4.ปิดหรือหรี่ไฟในห้องฉาย
                                5.เปิดสวิตช์พัดลมและสวิตช์หลอดฉาย
                                6.ปรับความชัดและขนาดของภาพที่ปรากฏบนจอตามต้องการ
                                7.ปรับระดับสูงต่ำของภาพ
                                8.เปลี่ยนสไลด์ภาพต่อไปตามลำดับที่ได้เตรียมมา
                                9.เมื่อใช้สไลด์เสร็จแล้วควรปิดสวิตช์หลอดฉายทันที ปล่อยให้พัดลมทำงานต่อไปจนกว่าหลอดฉายจะเย็นจึงเปิดสวิตช์พัดลม

                          การติดตั้งจอ                                                                  
                                การตั้งจอที่ดีต้องตั้งให้พื้นผิวของจอทำมุมฉากกับลำแสงที่ฉายจากเครื่องฉาย เพื่อป้องกันการบิดเบี้ยวของภาพ (Distortion) การติดตั้งจอที่ใช้ฉายในห้องเรียน เพื่อสะดวกอาจจะตั้งไว้หน้าชั้นเรียน  โดยใช้จอที่มีระบบม้วนเก็บเองโดยอัตโนมัติ  เมื่อจะใช้ก็ดึงลงมา  และปล่อยขึ้นจอจะม้วนเก็บเอง

                                ในห้องเรียนควรติดตั้งจอให้ผู้เรียนสามารถมองเห็นภาพจากการฉายได้ ทั่วทุกคน และควรจัดที่นั่งให้สมดุลกับมุมสะท้อนแสงของจอด้วย  การจัดที่นั่งผู้ดูจะต้องคำนึงถึงขนาดของจอ โดยให้ผู้นั่งแถวหน้าห่างจากจอไม่น้อยกว่า 2 เท่าความกว้างของจอ เช่น ถ้าจอกว้าง 40 ฟุต ผู้ดูแถวหน้าต้องนั่งห่างจากจอ 80 ฟุต เป็นอย่างน้อย และผู้ดูแถวหลังสุดต้องห่างจอไม่เกิน 6 เท่าของความกว้างของจอ ถ้าจอกว้าง 30 ฟุต แถวหลังสุดควรห่างจากจอไม่เกิน 180 ฟุต

                         ห้องฉาย (Projection Room)
                                สิ่งสำคัญในการควบคุมห้องฉาย มี 3 ประการคือ
                                      1.ควบคุมแสงสว่าง การใช้เครื่องฉายต้องอาศัยห้องที่ควบคุมแสงไม่เท่ากัน เช่น เครื่องฉายภาพทึบแสงจำเป็นต้องฉายในห้องมืดสนิท ส่วนเครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ ใช้ห้องที่มีความมืดมากน้อยลงตามลำดับ และเครื่องฉายที่สามารถฉายได้ในห้องที่ไม่มืดมากนักหรือห้องเรียนธรรมดาที่สว่างก็คือเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ
                                      2.ระบบเสียง  ห้องฉายที่ดีควรจะติดอะคูสติคบอร์ด (Acoustic Board) เพื่อป้องกันเสียงและทำให้เสียงไพเราะน่าฟังขึ้นอีกมาก การติดตั้งลำโพงในห้องฉายควรติดตั้งลำโพงในระดับหูของผู้ดู
                                      3.ระบบการระบายอากาศ  ห้องฉายที่ดีควรจะมีระบบอากาศที่ดีทำให้ผู้ดูสามารถที่จะอยู่ในห้องฉายได้อย่างสบาย ไม่ร้อนหรืออึดอัดเกินไป ระบบระบายอากาศจะใช้พัดลมหรือเครื่องปรับอากาศก็ได้
                        
                          สิ่งที่ควรคำนึงในการจัดห้องฉาย
                                1.ควรจัดที่นั่งผู้ดูไม่ให้บังกัน โดยจัดแต่ละแนวให้สูงต่ำลดหลั่นกันเป็นแบบอัฒจันทร์ แต่จะต้องไม่ทำให้ชันเกินไปจนน่าจะเป็นอันตรายแก่ผู้ดู
2.เครื่องฉายควรตั้งอยู่แถวหลังของผู้ดู และสูงพอที่ผู้ดูจะไม่บังแสงจากเครื่องที่ส่องสว่างไปยังจอภาพ เพราะการที่ผู้ดูบังลำแสงจะปรากฏเงาบนจอบางส่วนหรือทั้งหมด










รุจโรจน์  แก้วอุไร.//(Web Based Instruction).//เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา,วันที่สืบค้น
                   28 กรกฎาคม 2555. จาก http://www.edu.nu.ac.th/wbi/355201/p77.html
จงดี กากแก้ว.//(บทเรียนการสอนผ่านเว็บวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา).//บทเรียน
                   การสอนผ่านเว็บวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา,วันที่สืบค้น 2 สิงหาคม 2555.
                   จากhttp://www.ipecp.ac.th/ipecp.ac.th/wbi/ed-techno/program/index.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น