ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บทที่ 3 TV


การประยุกต์ใช้สื่อโทรทัศน์เพื่อการศึกษาและการออกอากาศ (TV)
                   โทรทัศน์การศึกษา  หมายถึง เป็นการส่งรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเชิงความรู้ด้านต่างๆให้แก่ผู้ชมโดยไม่จำกัดสถานภาพของผู้รับและสามารถนำรายการเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ในการประกอบการเรียนการสอนได้ แต่ถ้าเป็น โทรทัศน์เพื่อการสอนจะเป็นรายการโทรทัศน์ที่จัดเพื่อการสอนตามหลักสูตรและมีการจำกัดสถานภาพของกลุ่มผู้รับ 

                   ระบบการแพร่ภาพและเสียงของโทรทัศน์ 
                         ระบบของการแพร่ภาพและเสียงของโทรทัศน์แบ่งได้เป็น 2 ระบบ คือ 
                                1.การแพร่ภาพและเสียงในระบบวงจรปิด (open - circuit television or broadcasting television) ระบบนี้ส่งภาพและเสียงไปยังเครื่องรับตามสถานที่ต่างๆ ได้ตามแรงรัศมีซึ่งแยกออกเป็น 2 ระบบย่อย คือ 
                                      1.1ระบบ VHF ( Very High Frequency ) ส่งคลื่นออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์12 ช่อง โดยใช้ในการแพร่ภาพของสถานีโทรทัศน์เพื่อความบันเทิงและการค้า ใช้ความถี่คลื่นตั้งแต่44-88 megahertz ใช้กับช่อง 2-6 และความถี่ 174-216 megahertz ใช้กัลช่อง 7-13
                                      1.2ระบบ UHF (Ultra High Frequency) ส่งคลื่นออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์70ช่อง คือ ช่อง14-83 ความถี่ของคลื่นตั้งแต่ 470-890 megahertzใช้ในการแพร่ภาพของสถานีโทรทัศน์ที่มิใช่การค้า
                                2.การแพร่ภาพและเสียงในระบบวงจรปิด (Closed-Circuit Television;CCTV)เป็นการแพร่ภาพและเสียงในบริเวรจำกัดกว่าในระบบแรกเนื่องจากเป็นการแพร่ภาพไปตามสายแทนการออกอากาศ เช่นโทรทัศน์วงจรปิดที่ใช้สอนในมหาวิทยาลัย หรือระบบสายเคเบิลที่ส่งไปยังคนกลุ่มเดียวที่ต่อจากสายเคเบิลจากสถานีส่งไปยังเครื่องรับของตน 

                   ประเภทของสถานีวิทยุโทรทัศน์
                         การจัดตั้งสถานีโทรทัศน์แต่ละแห่งอาจแบ่งได้ตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานของสถานี คือ
                                1.วิทยุโทรทัศน์เพื่อการค้า (CTV : Commercial Television) เป็นสถานีโทรทัศน์ที่มีจุดมุ่งหมายผลิตรายการเพื่อตอบสนองธุรกิจการค้าและการโฆษณา ต้องอาศัยรายได้สนับสนุนจากการโฆษณา จึงมุ่งผลิตรายการเพื่อความบันเทิงเกือบทั้งหมด 
                                      http://www.tv3.co.th/   http://www.tv5.co.th/   http://www.itv.co.th/  
                                      http://www.ch7.com/   http://www.mcot.net/       
                                2.โทรทัศน์การศึกษา (ETV : Educational Television) เป็นสถานีโทรทัศน์เพื่อให้ความรู้ทั่วๆ ไป ในประเทศไทยมีอยู่เพียงสถานีเดียวคือ สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ของกรมประชาสัมพันธ์
                                      http://www.nfe.go.th/etv/  
                                3.โทรทัศน์การสอน (ITV : Instructional Television) เป็นสถานีโทรทัศน์เพื่อทำการสอนเพียงอย่างเดียว ในประเทศไทยยังไม่มีสถานีประเภทนี้เลย
                                4.โทรทัศน์วงจรปิด (CCTV : Closed Circuit Television) เป็นโทรทัศน์ที่ติดตั้งตามสถานศึกษาต่างๆ ตลอดจนหน่วยงานบางหน่วย โดยมากจะทำการผลิตรายการทางการสอนแล้วส่งภาพทางสาย (microteaching) เพื่อตรวจเช็ค (preview) หรือวิจารณ์การฝึกหัดสอนของครู การติดตั้งโทรทัศน์วงจรปิดในโอกาสพิเศษต่างๆ เช่น การจัดอบรมหรือสัมมนาซึ่งมีคนฟังมากๆ จำเป็นต้องส่งสัญญาณภาพและเสียงตามสายไปยังห้องอื่นๆ
                                5.โทรทัศน์ชุมชน (CATV : Community Attenna Television) เป็นสถานีโทรทัศน์ที่ก่อตั้งขึ้นเป็นพิเศษ ซึ่งมีลูกค้าเป็นผู้รับโดยเฉพาะ สถานีจะส่งออกอากาศไปยังบ้านของผู้รับที่มีเสารับสัญญาณพิเศษเข้าเครื่องรับแต่ละบ้าน หรือมีเสารับสัญญาณรวมแล้วต่อสายเคเบิ้ลไปตามบ้านแต่ละหลัง จึงเรียกระบบโทรทัศน์แบบนี้ว่า โทรทัศน์ชุมชน สำหรับการส่งรายการโทรทัศน์ไปตามสายเคเบิ้ลจากสถานีต้นทางไปยังบ้านที่บอกรับสมาชิกนั้นมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เคเบิ้ลทีวี (Cable Television)

                   บทบาทของวิทยุโทรทัศน์ทางการศึกษา
                         การใช้วิทยุโทรทัศน์เพื่อการเรียนการสอนในระบบโรงเรียน
                                1.ใช้วิทยุโทรทัศน์เป็นเครื่องมือทางการสอน โดยกำหนดแผนการสอนให้มีวิทยุโทรทัศน์เข้ามาเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน เช่น การบันทึกภาพเพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาและกำหนดวิธีแก้ไข
                                2.ใช้เป็นอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ เช่น ใช้กล้องโทรทัศน์ถ่ายภาพจากกล้องจุลทรรศน์ เพื่อประกอบการอธิบาย ซักถาม
                                3.ใช้เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดสื่ออื่น เช่น บันทึกวีดิทัศน์จากภาพยนตร์ สไลด์ รูปภาพ หรือสื่อเสียงอื่นๆ เข้าด้วยกัน ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน
                                4.รวบรวมเป็นสื่อไว้ในแหล่งความรู้ เช่น ในห้องสมุดเพื่อบริการให้ผู้ต้องการใช้และศึกษาด้วยตนเอง
                  


                   1.การใช้วิทยุโทรทัศน์เพื่อการเรียนการสอนในระบบโรงเรียน
                                1.1ใช้ในการศึกษาระบบเปิด โดยใช้วีดิทัศน์เป็นสื่อหลักในการศึกษาทางไกลร่วมกับสื่ออื่นๆ เช่น นำเสนอรายการโทรทัศน์ในชุดวิชาต่างๆ ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
                                1.2ใช้ในระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ ใช้การผสมผสานระหว่างสื่อทางไกลประเภทต่างๆ และการผลิตรายการโทรทัศน์ ถ่ายทอดผ่านดาวเทียมไทยคม ไปยังโรงเรียนต่างๆ ในสังกัด ทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย การผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษานอกโรงเรียน และรายการการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งมีการแนะแนวการศึกษา อาชีพ วิชากฎหมาย รายวิชาเสริมความรู้ และรายการข่าวสารคดี เพลงและรายการภาพยนตร์ เป็นต้น
                   2.การใช้วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษานอกระบบโรงเรียน (Informal Education) เป็นการใช้รายการโทรทัศน์ให้ความรู้และอาชีพแก่ผู้ชมรายการที่อยู่ในที่ต่างๆ โดยไม่มีการกำหนดเป็นนักเรียนหรือชั้นเรียน การใช้วิทยุโทรทัศน์ในลักษณะนี้จะไม่มีหลักสูตรตายตัว และไม่มีใบรับรองคุณวุฒิเหมือนเช่นการศึกษาในระบบ เช่น รายการทางการศึกษาที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ถือเป็นการให้การศึกษานอกระบบ
                   3.การศึกษาตามอัธยาศัย (Informal education) เป็นการจัดการศึกษาเพื่อให้ข่าวสารข้อมูลความรู้และทักษะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วไปโดยที่จะไม่มีหลักสูตรชัดเจนเหมือนสองประเภทแรก แต่จะกำหนดเนื้อหาในการออกอากาศทางโทรทัศน์ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาปัจจุบัน และสามารถเน้นเนื้อหาเฉพาะกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เช่น กลุ่มอาชีพ ผู้ใช้แรงงานกลุ่มสตรี กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเด็กและเยาวชนและกลุ่มเกษตรกร เป็นต้น




จารุวรรณ แดง รัตภาสกร.//(การนำวิทยุโทรทัศน์มาใช้ในการศึกษา).//การนำวิทยุโทรทัศน์มาใช้ใน
                   การศึกษา,วันที่สืบค้น 3 สิงหาคม 2555. จาก http://www.learners.in.th/blogs/posts/259233







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น