ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บทที่ 4 ICT


การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา  (ICT)
                   ในปัจจุบันมีการนำเอา ICT มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนหลายรูปแบบ เช่นการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer Assisted Instruction) การเรียนในรูปแบบอิเลคทรอนิกส์ (e-Leaning) การเรียนโดยใช้การสื่อสารทางไกล (Distance Learning) ภายใต้ความเชื่อเกี่ยวกับศักยภาพของเทคโนโลยีในปัจจุบันที่จะให้ผู้เรียนเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่มากมาย หรือในโลกแห่งความรู้ (World Knowledge) ซึ่งผู้เรียนมีความสามารถที่จะเรียนเวลาใด  สถานที่ใด หรือแม้กระทั่งจะเรียนรู้กับใครก็ได้ตามความสนใจของแต่ละคน จึงเกิดความยืดหยุ่นในการเรียนรู้มากขึ้น

                   การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี  เป็นการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเพื่อการเรียนรู้ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผล การใช้ซอฟต์แวร์ คอมพิวเตอร์ในการสร้างบทเรียนการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการค้นคว้า การใช้ WWW. เป็นสื่อในลักษณะการสอนบนเว็บ การเรียนการสอนในลักษณะอีเลิร์นนิง และการทัศนศึกษาเสมือนด้วยแหล่งเรียนรู้เสมือนจากเว็บไซต์ต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งเมื่อเรียนรู้ถึงความใหม่ทันสมัยของเทคโนโลยีแล้วจำนำมาประยุกต์ใช้ในวงการต่าง ๆ ได้ ซึ่งผู้เรียน สามารถใช้  ไอซีทีเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยมีจุดมุ่งหมายคือ
                         1.การรู้เทคโนโลยีและการรู้สารสนเทศ ใช้ไอซีทีเพื่อการค้นคว้า รวบรวม และประมวลผลจากแหล่งต่าง ๆ และเพื่อการสร้างองค์ความรู้ใหม่
                         2.มีทักษะการจัดการสารสนเทศเพื่อพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการทำงานเป็นทีม
                         3.กระตุ้นให้ผู้เรียนพัฒนาคุณค่า ทัศนคติ และจริยธรรมในเชิงบวกในการใช้ไอซีทีซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ตลอดชีวิตและกระบวนการคิดอย่างวิเคราะห์
                         4.ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสเข้าถึง ใช้ และเรียนรู้ทักษะไอซีทีในการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักสูตรพื้นฐาน
                         5.ต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสในการใช้และพัฒนาความรู้ไอซีทีในทุกสาขาวิชา และเพิ่มโอกาสให้ผู้เรียนมีการใช้ไอซีทีให้มากขึ้น
                         6.กระบวนการเรียนการสอนต้องไม่จัดเฉพาะในชั้นเรียนเท่านั้น ผู้เรียนควรมีโอกาสสัมผัสโลกภายนอกผ่านเครือข่ายไอซีที การรู้ไอซีที และมีการพัฒนาการของทัศนคติที่ดีต่อไอซีทีตามความต้องการของแต่ละคน

                   ผู้สอน
                         ผู้สอนควรมีความรู้และทักษะไอซีทีในระดับสูง รวมถึงความเข้าใจในการพัฒนาการของการใช้สื่อเทคโนโลยีในการเรียนการสอน
                               1.สมรรถนะด้านไอซีทีจะช่วยให้ผู้สอนมีความรู้อย่างกว้างขวาง มีวิสัยทัศน์ก้าวไกลเพื่อสามารถเป็นผู้แนะนำแก่ผู้เรียนได้
                                2.คอมพิวเตอร์จะเป็นเครื่องมือหลักสำคัญสำหรับผู้สอนเพื่อเข้าถึงทรัพยากรการเรียนการเตรียมแผนการสอน ให้การบ้าน และติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครองนักเรียน ผู้สอนคนอื่นๆและผู้บริหาร
                                3.ผู้สอนควรได้รับการอบรมในการใช้ไอซีทีและสามารถบูรณาการไอซีทีในกิจกรรมการเรียนการสอนได้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างวิเคราะห์และสร้างสรรค์
                                4.ผู้สอนควรติดตามพัฒนาการและความก้าวหน้าของไอซีทีเพื่อนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอนได้

                   รูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอน
                         1.การเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ตและเวิลด์ไวด์เว็บ
                         2.การส่งการสอนทางไกลด้วยการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม
                         3.การเรียนการสอนโดยการประชุมทางไกลด้วยวีดิทัศน์
                         4.บทเรียนลักษณะข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติ
                         5.บันทึกข้อมูลและสารสนเทศด้วยซีดีและดีวีดี
                         6.การเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีไร้สาย
                         7.การศึกษาเชิงลึกด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน

                   เรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก
                         การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก เป็นการจัดการเรียนที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิม การเรียนการสอนแบบนี้อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้แก่ การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-based Instruction) การฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-based Trainning) การเรียนการสอนผ่านเวิล์ดไวด์เว็บ (www-based Instruction) การฝึกอบรมผ่านเวิล์ดไวด์เว็บ (www-based Trainning) เป็นต้น

                   ประเภทของสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก
                         1.เวิล์ดไวด์เว็บ จะใช้สำหรับเป็นแหล่งความรู้ฐาน และเป็นแหล่งความรู้ภายนอกเพื่อการสืบค้น
                         2.อีเมล์ จะใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างอาจารย์หรือเพื่อนร่วมชั้นเรียนด้วยกันใช้ส่วนการบ้านหรืองานที่ได้รับมอบหมาย
                         3.กระดานข่าว  ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่าง ผู้เรียน อาจารย์ และผู้เรียนเป็นกลุ่ม ใช้กำหนดประเด็นหรือกระทู้ตามที่อาจารย์กำหนด หรือตามแต่นักเรียนกำหนด เพื่อช่วยกันอภิปรายตอบคำถามในประเด็นที่เป็นกระทู้นั้น ๆ
                         4.แชท  ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างผู้เรียน อาจารย์และผู้เรียน โดยการสนทนาแบบเวลาจริง (Real time) โดยมีทั้งสนทนาด้วยตัวอักษรและสนทนาทางเสียง (Voice Chat) ลักษณะใช้คือใช้สนทนาระหว่างผู้เรียนและอาจารย์ ใน ห้องเรียนหรือชั่วโมงเรียนเสมือนว่ากำลังเรียนอยู่ในห้องเรียนจริงๆ
                         5.ไอซีคิว  ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างผู้เรียน อาจารย์และผู้เรียนโดยการสนทนาแบบเวลาจริง หรือหลังจากนั้นแล้ว โดยเก็บข้อความไว้ การสนทนาระหว่างผู้เรียนและอาจารย์ในห้องเรียนเสมือนว่ากำลังคุยกัน ในห้องเรียนจริงๆ และ บางครั้งผู้เรียนก็ไม่จำเป็นต้องอยู่ในเวลานั้นๆ ไอซีคิวจะเก็บข้อความไว้ให้และยังทราบด้วยว่าในขณะนั้นผู้เรียนอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไม่
                         6.คอนเฟอเรนซ์  ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างผู้เรียน อาจารย์ และผู้เรียนแบบเวลาจริง โดยที่ผู้เรียนและอาจารย์สามารถเห็นหน้ากันได้โดยผ่านทางกล้องโทรทัศน์ที่ติดอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสองฝ่ายใช้บรรยายให้ผู้เรียนกับที่อยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือนว่ากำลังเรียนอยู่ในห้องเรียนจริงๆ
                         7.การบ้านอิเล็กทรอนิกส์  ใช้สำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างผู้เรียน อาจารย์เป็นเสมือนสมุดประจำตัวนักเรียน โดยที่นักเรียนไม่ต้องถือสมุดการบ้านจริงๆ และใช้ส่งงานตามที่อาจารย์กำหนด เช่น ให้เรียนรายงานโดยที่อาจารย์สามารถเปิดดูการบ้านอิเล็กทรอนิกส์ของนักเรียนและเขียนบันทึกเพื่อตรวจงาน และให้คะแนนได้แต่นักเรียนจะเปิดดูไม่ได้

                   มัลติมีเดีย
                         มัลติมีเดียได้นำมาใช้ในทางการศึกษาโดยเทคโนโลยีมัลติมีเดียจะนำเสนอได้ทั้งเสียง ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว ดนตรี กราฟิก ภาพถ่าย วัสดุตีพิมพ์ และภาพยนตร์วีดิทัศน์ และสามารถที่จะจำลองภาพการเรียนการสอนได้ถือว่าเป็นการจำลองสภาพการณ์ของวิชาต่างๆ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่นำให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงก่อนการลงมือปฏิบัติจริงโดยสามารถที่จะทบทวนขั้นตอนและกระบวนการได้เป็นอย่างดี นักเรียนอาจเรียนหรือฝึกซ้ำได้ และใช้มัลติมีเดียในการฝึกภาษาต่างประเทศ โดยเน้นเรื่องของการออกเสียงและฝึกพูด
                         คอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็จัดเป็นสื่อมัลติมีเดียนำเสนอได้ทั้งภาพ ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวโปรแกรมช่วยสอนนี้เหมาะกับการศึกษาด้วยตนเองและให้ผู้เรียนสามารถโตเตอบกับบทเรียนได้



                   อิเล็กทรอนิกส์บุ๊ค
                         ในการประยุกต์อิเล็กทรอนิกส์บุ๊คมาให้ทางการศึกษา มักใช้เพื่อเป็นสื่อแทนหนังสือ หรือตำรา หรือใช้เพื่อเป็นสื่อเสริมการเรียนด้วยตนเอง ผู้เรียนนำแผ่นซีดีที่บรรจุข้อมูลหนังสือทั้งเล่มมาอ่านด้วยคอมพิวเตอร์ และเมื่อต้องการข้อมูลส่วนใดก็สามารถคัดลอกและอ้างอิงนำมาใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องจัดพิมพ์ใหม่ โปรแกรมประยุกต์ในปัจจุบันที่ใช้อ่านข้อมูลที่จัดเก็บในแผ่นซีดีรอม ได้แก่ Acrobat Reader, Nescape Navigator, Internet Explorer เป็นต้น

                   ระบบการเรียนการสอนทางไกล
                         การศึกษาเน้นระบบการกระจายการศึกษา การเรียนการสอนทางไกลเป็นช่องทางหนึ่งที่ใช้เพื่อกระจายการศึกษา ระบบการกระจายการศึกษาที่ได้ผลในปัจจุบัน และเข้าถึงมวลชนจำนวนมาก ย่อมต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าช่วย ในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะมีสถานีโทรทัศน์เพิ่มขึ้นอาจจะมากกว่า 100 ช่องในอนาคต และมีระบบโทรทัศน์ที่กระจายสัญญาณโดยตรงผ่านความถี่วีเฮซเอฟ (VHF) และยูเฮชเอฟระบบวีเอชเอฟได้แก่สถานีโทรทัศน์ ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 และช่อง 11 ส่วนระบบยูเฮชเอฟ ได้แก่ ไอทีวี (ITV) และยังมีระบบดีทีเฮช (DTH : Direct to Home) คือ             ระบบที่กระจายสัญญาณโทรทัศน์จากดาวเทียมลงตรงยังบ้านที่อยู่อาศัย ทำให้ครอบคลุมพื้นที่การรับได้กว้างขวางเพราะไม่ติดขัดสภาพทางภูมิประเทศที่มีภูเขาขวางกั้น ดังนั้น
การใช้ระบบโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนทางไกลเพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษา
                         การเรียนการสอนทางไกลโดยใช้ระบบโทรทัศน์ที่มีอยู่ในปัจจุบันมีข้อจำกัดคือ เป็นการสื่อสารทางเดียว                (One-way) ทำให้ผู้เรียนได้รับข่าวสารข้อมูลเสียงด้านเดียวไม่สามารถซักถามปัญหาต่างๆ ได้จึงมีระบบกระจายสัญญาณในรูปของสาย (Cable) โดยใช้เส้นใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) ในการสื่อสารเหมือนสายโทรศัพท์ แต่มีความเร็วในการสื่อสารข้อมูลได้มากกว่าสายโทรศัพท์ธรรมดา และส่งกระจายสัญญาณไปตามบ้านเรือนต่างๆ ก่อให้เกิดระบบวิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Videoteleconference) ขึ้น ระบบดังกล่าวนี้เป็นระบบโต้ตอบสองทาง (Two-way) กล่าวคือทางฝ่ายผู้เรียนสามารถเห็นผู้สอนและผู้สอนก็เห็นผู้เรียนถึงแม้จะอยู่ห่างไกลกัน ทั้งสองฝ่ายสามารถเจรจาตอบโต้กันเห็นภาพกันเสมือนนั่งอยู่ในห้องเดียวกัน ระบบวิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์จึงเป็นระบบหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อการศึกษาทางไกลเป็นอย่างมาก

                   วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์
                         ด้านการศึกษาวิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ผ่านทางจอภาพ โทรทัศน์และเสียง นักเรียนในห้องเรียนที่อยู่ห่างไกลสามารถเห็นภาพและเสียงของครู สามารถเห็นอากับกิริยาของ ผู้สอน เห็นการเคลื่อนไหวและสีหน้าของครูในขณะเรียน
                         คุณภาพของภาพและเสียงขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางการสื่อสารที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างสองฝั่งที่มีการประชุมกัน ได้แก่ จอโทรทัศน์ หรือจอคอมพิวเตอร์ ลำโพง ไมโครโฟน กล้อง อุปกรณ์เข้ารหัสและถอดรหัสผ่านเครือข่ายการสื่อสารความเร็วสูงแบบไอเอสดีเอ็น (ISDN)


                   ระบบวิดีโอออนดีมานด์
                         ระบบวิดีโอออนดีมานด์มาใช้เพื่อการศึกษาได้เป็นอย่างดี เช่น นำมาใช้เพื่อการเรียนการสอนทางไกล (Distance Learning) โดยนักเรียนสามารถลงทะเบียนเรียนในหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่ง และเมื่อต้องการเรียนโดยเลือกบทเรียนจากวีดิทัศน์ที่เก็บอยู่ในวิดีโอเซอร์ฟเวอร์ ทำให้นักเรียนสามารถเรียนและทบทวนบทเรียนได้ทุกเวลาตามความต้องการด้วยตนเอง


ภาพแสดงการเชื่อมต่อระบบวิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์

                   อินเตอร์เน็ต
                         มีประโยชน์ต่อการศึกษามากทำให้มหาวิทยาลัยต่างๆ
                                1.การใช้เป็นระบบสื่อสารส่วนบุคคลบนอินเตอร์เน็ต เรียกย่อๆ ว่า อีเมล์ (E-mail) เป็นระบบที่ทำให้การสื่อสารระหว่างกันเกิดขึ้นได้ง่าย แต่ละบุคคลจะมีตู้จดหมายเป็นของตัวเองสามารถส่งข้อความถึงกันผ่านในระบบนี้ โดยส่งไปยังตู้จดหมายของกันและกันนอกจากนี้ยังสามารถประยุกต์ใปใช้ทางการศึกษาได้ เช่นการแจ้งผลสอบผ่านทางอีเมล์ การส่งการบ้าน การโต้ตอบบทเรียนต่างๆ ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา
                                2.ระบบข่าวสารบนอินเตอร์เน็ตมีลักษณะเหมือนกระดานข่าวที่เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก ทุกคนสามารถเปิดกระดานข่าวที่ตนเองสนใจ หรือสามารถส่งข่าวสารผ่านกลุ่มข่าวบนกระดานนี้เพื่อโต้ตอบข่าวสารกันได้ เช่น กลุ่มสนใจงานเกษตรก็สามารถมีกระดานข่าวของตนเองไว้สำหรับอภิปรายปัญหากันได้
                                3.การใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลข่าวสารต่างๆ บนอินเตอร์เน็ตมีแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงกัน และติดต่อกับห้องสมุดทั่วโลกทำให้การค้นหาข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพหมายถึงสามารถค้นหาและได้มาซึ่งข้อมูลโดยใช้เวลาอันสั้น โดยเฉพาะบนอินเตอร์เน็ตจะมีคำหลัก (Index) ไว้ให้สำหรับการสืบค้นที่รวดเร็ว
                                4.ฐานข้อมูลเครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Wed) เป็นฐานข้อมูลแบบเอกสาร (Hypertext) และแบบมีรูปภาพ (Hypermedia) จนมาปัจจุบัน ฐานข้อมูลเหล่านี้ได้พัฒนาขึ้นจนเป็นแบบมัลติมีเดีย (Multimedia) ซึ่งมีทั้งข้อความ รูปภาพ วีดิทัศน์ และเสียง ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสืบค้นกันได้จากที่ต่างๆ ทั่วโลก
                                5.การพูดคุยแบบโต้ตอบหรือคุยเป็นกลุ่ม บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสามารถเชื่อมต่อกันและพูดคุยกันได้ด้วยเวลาจริง ผู้พูดสามารถพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดบนเครือข่าย เช่น ฝ่ายหนึ่งอาจอยู่ต่างประเทศอีกฝ่ายหนึ่งอยู่ในที่ห่างไกลก็พูดคุยกันได้และยังสามารถพูดคุยกันเป็นกลุ่มได้
                                6.การส่งถ่ายข้อมูลระหว่างกันแบบ FTP (Files Transfer Protocol) คือสามารถที่จะโอนย้ายถ่ายเทข้อมูลระหว่างกันเป็นจำนวนมากๆ ได้ โดยส่งผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งทำให้สะดวกต่อการรับ-ส่งข้อมูลข่าวสาร ซึ่งกันและกันโดยไม่ต้องเดินทางและข่าวสารถึงผู้รับได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
                                7.การใช้ทรัพยากรที่ห่างไกลกัน ผู้เรียนอาจเรียนอยู่ที่บ้านและเรียกใช้ข้อมูลที่เป็นทรัพยากรการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยได้ และยังสามารถขอใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ในต่างมาวิทยาลัยได้ เช่น มหาวิทยาลัยหนึ่งมีเครื่องคอมพิวเตอร์แบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์และผู้อยู่อีกมหาวิทยาลัยหนึ่งก็ขอใช้ได้ ทำให้มีการใช้ทรัพยากรที่เป็นซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ได้อย่างมีประโยชน์และคุ้มค่าอย่างยิ่ง
                         ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าประโยชน์ของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตต่อการศึกษายังมีอีกมาก มหาวิทยาลัยเกือบทุกแห่ง จึงเร่งที่จะมีโครงการสร้างเครือข่ายความเร็วสูงขึ้นในมหาวิทยาลัยเพื่อให้ทรัพยากรภายในและผู้ใช้เชื่อมโยงถึงกันได้ นอกจากนั้นยังสามารถต่อเชื่อมเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้








รัชฏาพร คำอุไร.//(การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างเหมาะสม).//การใช้งาน
                   เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างเหมาะสม,วันที่สืบค้น วันที่ 2 สิงหาคม 2555. จาก




บทที่ 3 TV


การประยุกต์ใช้สื่อโทรทัศน์เพื่อการศึกษาและการออกอากาศ (TV)
                   โทรทัศน์การศึกษา  หมายถึง เป็นการส่งรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเชิงความรู้ด้านต่างๆให้แก่ผู้ชมโดยไม่จำกัดสถานภาพของผู้รับและสามารถนำรายการเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ในการประกอบการเรียนการสอนได้ แต่ถ้าเป็น โทรทัศน์เพื่อการสอนจะเป็นรายการโทรทัศน์ที่จัดเพื่อการสอนตามหลักสูตรและมีการจำกัดสถานภาพของกลุ่มผู้รับ 

                   ระบบการแพร่ภาพและเสียงของโทรทัศน์ 
                         ระบบของการแพร่ภาพและเสียงของโทรทัศน์แบ่งได้เป็น 2 ระบบ คือ 
                                1.การแพร่ภาพและเสียงในระบบวงจรปิด (open - circuit television or broadcasting television) ระบบนี้ส่งภาพและเสียงไปยังเครื่องรับตามสถานที่ต่างๆ ได้ตามแรงรัศมีซึ่งแยกออกเป็น 2 ระบบย่อย คือ 
                                      1.1ระบบ VHF ( Very High Frequency ) ส่งคลื่นออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์12 ช่อง โดยใช้ในการแพร่ภาพของสถานีโทรทัศน์เพื่อความบันเทิงและการค้า ใช้ความถี่คลื่นตั้งแต่44-88 megahertz ใช้กับช่อง 2-6 และความถี่ 174-216 megahertz ใช้กัลช่อง 7-13
                                      1.2ระบบ UHF (Ultra High Frequency) ส่งคลื่นออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์70ช่อง คือ ช่อง14-83 ความถี่ของคลื่นตั้งแต่ 470-890 megahertzใช้ในการแพร่ภาพของสถานีโทรทัศน์ที่มิใช่การค้า
                                2.การแพร่ภาพและเสียงในระบบวงจรปิด (Closed-Circuit Television;CCTV)เป็นการแพร่ภาพและเสียงในบริเวรจำกัดกว่าในระบบแรกเนื่องจากเป็นการแพร่ภาพไปตามสายแทนการออกอากาศ เช่นโทรทัศน์วงจรปิดที่ใช้สอนในมหาวิทยาลัย หรือระบบสายเคเบิลที่ส่งไปยังคนกลุ่มเดียวที่ต่อจากสายเคเบิลจากสถานีส่งไปยังเครื่องรับของตน 

                   ประเภทของสถานีวิทยุโทรทัศน์
                         การจัดตั้งสถานีโทรทัศน์แต่ละแห่งอาจแบ่งได้ตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานของสถานี คือ
                                1.วิทยุโทรทัศน์เพื่อการค้า (CTV : Commercial Television) เป็นสถานีโทรทัศน์ที่มีจุดมุ่งหมายผลิตรายการเพื่อตอบสนองธุรกิจการค้าและการโฆษณา ต้องอาศัยรายได้สนับสนุนจากการโฆษณา จึงมุ่งผลิตรายการเพื่อความบันเทิงเกือบทั้งหมด 
                                      http://www.tv3.co.th/   http://www.tv5.co.th/   http://www.itv.co.th/  
                                      http://www.ch7.com/   http://www.mcot.net/       
                                2.โทรทัศน์การศึกษา (ETV : Educational Television) เป็นสถานีโทรทัศน์เพื่อให้ความรู้ทั่วๆ ไป ในประเทศไทยมีอยู่เพียงสถานีเดียวคือ สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ของกรมประชาสัมพันธ์
                                      http://www.nfe.go.th/etv/  
                                3.โทรทัศน์การสอน (ITV : Instructional Television) เป็นสถานีโทรทัศน์เพื่อทำการสอนเพียงอย่างเดียว ในประเทศไทยยังไม่มีสถานีประเภทนี้เลย
                                4.โทรทัศน์วงจรปิด (CCTV : Closed Circuit Television) เป็นโทรทัศน์ที่ติดตั้งตามสถานศึกษาต่างๆ ตลอดจนหน่วยงานบางหน่วย โดยมากจะทำการผลิตรายการทางการสอนแล้วส่งภาพทางสาย (microteaching) เพื่อตรวจเช็ค (preview) หรือวิจารณ์การฝึกหัดสอนของครู การติดตั้งโทรทัศน์วงจรปิดในโอกาสพิเศษต่างๆ เช่น การจัดอบรมหรือสัมมนาซึ่งมีคนฟังมากๆ จำเป็นต้องส่งสัญญาณภาพและเสียงตามสายไปยังห้องอื่นๆ
                                5.โทรทัศน์ชุมชน (CATV : Community Attenna Television) เป็นสถานีโทรทัศน์ที่ก่อตั้งขึ้นเป็นพิเศษ ซึ่งมีลูกค้าเป็นผู้รับโดยเฉพาะ สถานีจะส่งออกอากาศไปยังบ้านของผู้รับที่มีเสารับสัญญาณพิเศษเข้าเครื่องรับแต่ละบ้าน หรือมีเสารับสัญญาณรวมแล้วต่อสายเคเบิ้ลไปตามบ้านแต่ละหลัง จึงเรียกระบบโทรทัศน์แบบนี้ว่า โทรทัศน์ชุมชน สำหรับการส่งรายการโทรทัศน์ไปตามสายเคเบิ้ลจากสถานีต้นทางไปยังบ้านที่บอกรับสมาชิกนั้นมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เคเบิ้ลทีวี (Cable Television)

                   บทบาทของวิทยุโทรทัศน์ทางการศึกษา
                         การใช้วิทยุโทรทัศน์เพื่อการเรียนการสอนในระบบโรงเรียน
                                1.ใช้วิทยุโทรทัศน์เป็นเครื่องมือทางการสอน โดยกำหนดแผนการสอนให้มีวิทยุโทรทัศน์เข้ามาเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน เช่น การบันทึกภาพเพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาและกำหนดวิธีแก้ไข
                                2.ใช้เป็นอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ เช่น ใช้กล้องโทรทัศน์ถ่ายภาพจากกล้องจุลทรรศน์ เพื่อประกอบการอธิบาย ซักถาม
                                3.ใช้เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดสื่ออื่น เช่น บันทึกวีดิทัศน์จากภาพยนตร์ สไลด์ รูปภาพ หรือสื่อเสียงอื่นๆ เข้าด้วยกัน ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน
                                4.รวบรวมเป็นสื่อไว้ในแหล่งความรู้ เช่น ในห้องสมุดเพื่อบริการให้ผู้ต้องการใช้และศึกษาด้วยตนเอง
                  


                   1.การใช้วิทยุโทรทัศน์เพื่อการเรียนการสอนในระบบโรงเรียน
                                1.1ใช้ในการศึกษาระบบเปิด โดยใช้วีดิทัศน์เป็นสื่อหลักในการศึกษาทางไกลร่วมกับสื่ออื่นๆ เช่น นำเสนอรายการโทรทัศน์ในชุดวิชาต่างๆ ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
                                1.2ใช้ในระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ ใช้การผสมผสานระหว่างสื่อทางไกลประเภทต่างๆ และการผลิตรายการโทรทัศน์ ถ่ายทอดผ่านดาวเทียมไทยคม ไปยังโรงเรียนต่างๆ ในสังกัด ทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย การผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษานอกโรงเรียน และรายการการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งมีการแนะแนวการศึกษา อาชีพ วิชากฎหมาย รายวิชาเสริมความรู้ และรายการข่าวสารคดี เพลงและรายการภาพยนตร์ เป็นต้น
                   2.การใช้วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษานอกระบบโรงเรียน (Informal Education) เป็นการใช้รายการโทรทัศน์ให้ความรู้และอาชีพแก่ผู้ชมรายการที่อยู่ในที่ต่างๆ โดยไม่มีการกำหนดเป็นนักเรียนหรือชั้นเรียน การใช้วิทยุโทรทัศน์ในลักษณะนี้จะไม่มีหลักสูตรตายตัว และไม่มีใบรับรองคุณวุฒิเหมือนเช่นการศึกษาในระบบ เช่น รายการทางการศึกษาที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ถือเป็นการให้การศึกษานอกระบบ
                   3.การศึกษาตามอัธยาศัย (Informal education) เป็นการจัดการศึกษาเพื่อให้ข่าวสารข้อมูลความรู้และทักษะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วไปโดยที่จะไม่มีหลักสูตรชัดเจนเหมือนสองประเภทแรก แต่จะกำหนดเนื้อหาในการออกอากาศทางโทรทัศน์ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาปัจจุบัน และสามารถเน้นเนื้อหาเฉพาะกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เช่น กลุ่มอาชีพ ผู้ใช้แรงงานกลุ่มสตรี กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเด็กและเยาวชนและกลุ่มเกษตรกร เป็นต้น




จารุวรรณ แดง รัตภาสกร.//(การนำวิทยุโทรทัศน์มาใช้ในการศึกษา).//การนำวิทยุโทรทัศน์มาใช้ใน
                   การศึกษา,วันที่สืบค้น 3 สิงหาคม 2555. จาก http://www.learners.in.th/blogs/posts/259233







บทที่ 2 AV


การประยุกต์ใช้สื่อโสตทัศน์เพื่อการศึกษา (AV)
             เป็นสื่อที่ผู้รับสามารถรับได้ทั้งภาพ และหรือเสียง  สื่อโสตทัศน์ แบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นสื่อวัสดุ และส่วนที่เป็น สื่ออุปกรณ์  สื่อวัสดุอาจจะสามารถใช้ได้ด้วยตัวเองโดยตรง เช่น ภาพวาด แบบจำลอง หรือของตัวอย่าง หรืออาจต้องนำไปใช้ร่วมกับสื่ออุปกรณ์ เช่นเทปบันทึกเสียง เทปวีดีทัศน์ ฟิล์ม ภาพยนตร์ แผ่นดิสเก็ต แผ่นซีดีรอม เป็นต้น ส่วนที่เป็นสื่ออุปกรณ์ ได้แก่ เครื่องเล่นเทปบันทึกเสียง เครื่องเล่นวีดีทัศน์ เครื่องฉายภาพยนตร์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยภาพรวมแล้ว สื่อโสตทัศน์มีข้อดีคือมีความน่าสนใจ เป็นสื่อที่คงทนถาวร นำมาใช้ได้บ่อยครั้ง และสามารถคัดลอกเพื่อนำไปใช้ที่อื่นได้ง่าย แต่มีข้อจำกัดคือต้องใช้อุปกรณ์ซึ่งบางประเภทมีราคาแพง และต้องมีความรู้ในการใช้ และจำเป็นต้องใช้

             ระบบการฉาย
                   เครื่องฉายภาพทึบแสง (Cpaqua Projector)

                   

                      
                   เป็นเครื่องที่สามารถใช้ในการ presentงาน โดยเฉพาะการสอน แทนเครื่องฉายภาพทึบแสงโดยทั่วไป การควบคุมและการปรับความคมชัด สามารถปรับได้จาก กล้อง ระยะกล้อง และปุ่มปรับตัวคมชัด  มีสวิตช์เลือกอินพุตในการนำเสนอจากคอมพิวเตอร์ และจากกล้องในกรณีการสอนที่ใช้สื่อผสม และแสดงผลโดยต่อกับโทรทัศน์ และVideo Projector

                   เครื่องฉายภาพทึบแสงที่มีต่อการเรียนการสอน
                         สามารถฉายวัสดุทึบแสงได้ตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาด 10x10 นิ้ว ให้ภาพขนาดใหญ่ชัดเจนมีสีสันเหมือนต้นฉบับในห้องที่มืดสนิท ใช้ขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการวาด เช่น การขยายแผนที่ และขยายภาพเล็ก ๆ จากหนังสือ หรือจากที่อื่น ๆ ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น นำผลงานของผู้เรียนมาวิเคราะห์หรือให้ดูพร้อมกันทั้งชั้นได้สะดวก ใช้ฉายวัสดุที่ไม่ต้องการให้ผู้ชมจับต้องมากนัก เพราะอาจทำให้ชำรุด เสียหาย เช่น ตัวอย่างแร่ หิน หนังสือพิมพ์เก่าแก่        หรือของในพิพิธภัณฑ์สามารถฉายให้เห็นรายละเอียดของเส้นด้าย ผ้า หรือเยื่อของวัสดุฉายให้ผู้เรียนได้เห็นรูปร่างลักษณะของเครื่องมือที่มีขนาดไม่ใหญ่โต มากนัก ใช้สอนได้ทุกวิชาและทุกระดับชั้น

                   การติดตั้ง 
                         1. ตั้งเครื่องฉายภาพทึบแสงบนโต๊ะหรือแท่นวางโดยให้เลนส์ฉายหันไปทางจอภาพ ระวังอย่าตั้งเครื่องฉายในด้านของพัดลมระบายอากาศชิดผนังหรือวัตถุอื่นเพราะจะทำให้ไม่สามารถระบายความร้อนได้
                         2.  ตรวจสอบสวิตช์หลอด O (Stand By ) ฉายว่าอยู่ในตำแหน่ง  
                         3.  เสียบสายปลั๊กเครื่องฉายเข้ากับเต้าเสียบ กดสวิตช์หลอดฉายให้อยู่ในตำแหน่ง NORMAL 
                         4.  ปิดไฟในห้องให้มืดสนิท

                    ขั้นตอนการใช้เครื่องฉายวัสดุทึบแสง
                         1. ตั้งเครื่องฉายบนโต๊ะหรือขาตั้งที่แข็งแรงและสามารถเคลื่อนย้ายได้
                         2.วางวัสดุฉายบนแท่นซึ่งอยู่ด้านล่างส่วนหลังของเครื่องฉาย โดยให้หัวของวัสดุฉายหรือภาพหันเข้าหาผู้ฉาย ซึ่งผู้ฉายจะอยู่ด้านหลังของเครื่องฉาย
                         3.ปรับคันบังคับแท่นวางวัสดุฉายให้แนบสนิทกับตัวเครื่องจึงจะได้ภาพชัดเจนทั่วทั้งภาพ
                         4. เสียบปลั๊กไฟเอ ซี และเปิดฝาครอบเลนส์ฉาย
                         5. เปิดสวิตช์พัดลมและปิดไฟภายในห้องฉายให้มืดสนิท
                         6. เปิดสวิทซ์หลอดฉาย ถ้าไม่ปรากฏภาพบนจออาจเกิดจากความมึกในห้องไม่เพียงพอหรือระยะห่างจากเครื่องฉายกับจอไม่เหมาะสม ควรเลื่อนเครื่องฉายเข้าหาหรือออกห่างจนกว่าจะได้ภาพชัดเจนหรืออาจจะลืมเปิดฝาครอบเลนส์ก็ได้
                         7. ปรับขยาดของภาพบนจอ ถ้าต้องการภาพขนาดใหญ่ขึ้นให้เลื่อนฉายออกห่างจอแต่ถ้าต้องการภาพขนาดเล็กลงก็เลื่อนเครื่องเข้าใกล้จอ
                         8. ปรับปุ่มคุมความชัดของภาพ
                         9. ปรับปุ่มควบคุมลูกศร เพื่อชี้ส่วนต่าง ๆ ของภาพ
                         10. เมื่อใช้เครื่องฉายนานๆ ควรหยุดพักเครื่องสักระยะหนึ่ง เพราะความร้อนจากหลอดฉายอาจทำให้วัสดุฉายชำรุดเสียหายได้
                         11. เมื่อใช้งานเสร็จแล้ว ปิดสวิตซ์หลอดฉายทันที แต่ยังคงเปิดสวิตซ์พัดลมให้ทำงานต่อไป ในช่วงเวลานี้ไม่ควรเคลื่อนย้ายเครื่องฉายจนกว่าหลอดฉายจะเย็น จึงปิดสวิตซ์พัดลม
                         12. เก็บวัสดุฉายโดยควบคุมที่หมุนแท่นวางวัสดุฉายหรือควยคุมคันปรับแท่นวางวัสดุ

                   เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ


                         เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เป็นเครื่องฉายที่จัดอยู่ในระบบฉายอ้อม ใช้สำหรับฉายภาพ วัสดุ หรือเครื่องมือที่โปร่งใส โดยเขียนข้อความหรือวาดภาพบนแผ่นโปร่งใส โดยทั่วไปจะมีคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องฉาย ดังนี้ 
                               1.ใช้สอนได้ทุกวิชา เพราะใช้แทนกระดานชอล์กได้ 
                               2.ห้องฉายไม่จำเป็นต้องควบคุมแสงสว่างมากนัก ห้องเรียนธรรมดาก็ฉายได้ผู้เรียน สามารถเห็นภาพบนจอได้ชัดเจน 
                               3.เครื่องฉายมีน้ำหนักเบา ใช้และบำรุงรักษาง่าย 
                               4.สามารถตั้งไว้หน้าชั้นหรือที่โต๊ะบรรยาย เวลาสอนหรือบรรยาย ในขณะที่ใช้เป็นการ สะดวกในการสังเกตความสนใจของผู้เรียนเพื่อจะได้ปรับปรุงการสอนได้อย่างเหมาะสม 
                               5.ประหยัดเวลาในการวาดรูปหรือเขียนคำอธิบาย ผู้สอนสามารถวาด
หรือเขียนบนแผ่นโปร่งใสมาก่อนล่วงหน้า ทำให้การเรียนการสอนเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและสะดวกต่อผู้สอน

                         ข้อแนะนำในการใช้เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ
                               1.ใช้วัสดุปลายแหลม เช่น ปลายปากกา  หรือแผ่นพลาสติกทำเป็นปลายลูกศร       
ชี้ข้อความหรือภาพบนแผ่นโปร่งใสประกอบการบรรยาย อย่าใช้นิ้วในการชี้อย่างเด็ดขาด 
                               2.ใช้กระดาษวางทับบนแท่นฉายขณะเปลี่ยนแผ่นโปร่งใสเพื่อมิให้มีแสงปรากฏบนจอภาพเปล่า ซึ่งจะทำให้ผู้ดูเสียสายตา 
                               3.อย่าวางแผ่นโปร่งใสบนแท่นฉายนานเกินควรขณะบรรยาย หากใช้แผ่นโปร่งใสนั้นแล้วและยังไม่ใช้แผ่นต่อไป  ให้ปิดไฟหลอดฉายก่อน เพื่อถนอมอายุหลอดไฟในการใช้งาน หากมีแผ่นกระดาษปิดด้านหน้าแผ่นโปร่งใสในการเก็บรักษา  เมื่อนำแผ่นโปร่งใสนั้นมาใช้ต้องระวัง              ไม่ให้แผ่นกระดาษนั้นห้อยบังพัดลมระบายความร้อนของเครื่อง  เพราะจะทำให้ไม่สามารถระบายความร้อนได้เต็มที่ซึ่งจะทำให้หลอดฉายร้อนเกินไปและหลอดขาดได้

                         การผลิตแผ่นใส
  
                         วิธีการเขียนลงบนแผ่นใส (Direct Drawing Method) เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุด โดยการใช้ ปากกาเขียนแผ่นใสเขียนลงบนแผ่นพลาสติก ซึ่งผู้สอนไม่ว่าจะผลิตแผ่นใสวิธีใดก็ตาม ควรคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้
                                1.ผู้สอนควรทำแผ่นใสในแนวนอนเพราะทำให้ฉายได้สะดวกและมองเห็นได้ดี
                                2.ผู้สอนควรออกแบบให้น่าสนใจ ไม่ซับซ้อน
                                3.แผ่นใสหนึ่งแผ่นควรนำเสนอเพียงมโนมติเดียว ถ้าเป็นภาพก็ประมาณ 3-4 ภาพ
เพื่ออธิบายมโนมตินั้น
                                4.เขียนเฉพาะข้อความที่จำเป็นเท่านั้น
                                5.เขียนให้อ่านง่าย
                                6.ถ้ามีเนื้อหาซับซ้อนให้ใช้การซ้อนภาพ (Overlay) โดยเพิ่มคำหรือข้อมูลลงบนแผ่นใสหลายแผ่นแล้ววางซ้อนกันไปเรื่อย ๆ แต่ก็ไม่ควรมากเกินไป

                         เครื่องฉายสไลด์


             หลักการทำงานของเครื่องวิชวลไลเซอร์จะเป็นการใช้กล้องถ่ายภาพของวัตถุเพื่อแปลงเป็น
สัญญาณไฟฟ้าก่อนที่จะแปลงกลับเป็นสัญญาณภาพอีกครั้งหนึ่ง  การเสนอภาพนิ่งจะเป็นการวางวัสดุฉายลงบนแท่นฉายเพื่อให้กล้องที่อยู่เหนือแท่นฉายจับภาพวัสดุ  โดยสามารถใช้ฉายได้ทั้งวัสดุทึบแสง เช่น  ภาพและข้อความบนสิ่งพิมพ์  วัสดุ  3  มิติ  วัสดุกึ่งโปร่งแสงและโปร่งใส  เช่น  ฟิล์มสไลด์และแผ่นโปร่งใส
                        
                         ประโยชน์ของเครื่องวิชวลไลเซอร์
                                การใช้เครื่องวิชวลไลเซอร์ในการเรียนการสอนมีประโยชน์ดังนี้   
                                      1.สามารถใช้ในการเสนอวัสดุได้ทุกประเภททั้งวัสดุทึบแสง วัสดุ  3  มิติ  รวมถึงวัสดุกึ่งโปร่งแสง และวัสดุโปร่งใส
                                      2.ใช้เป็นกล้องโทรทัศน์วงจรปิดเพื่อเสนอภาพวัตถุและการสาธิตภายในห้องเรียน
                                      3.ให้ภาพที่ชัดเจน  สามารถขยายภาพและข้อความจากสิ่งพิมพ์ให้อ่านอย่างทั่วถึง
                                      4.สามารถใช้กล้องตัวรองเป็นกล้องวีดิทัศน์เคลื่อนที่ได้
            
                   การใช้เครื่องฉายสไลด์
                                1.ใส่สไลด์ลงในถาดกลมหรือกล่องสี่เหลี่ยม โดยให้ด้านมันหันเข้าหาหลอดฉายและให้ภาพอยู่ในลักษณะหัวกลับ
                                2.นำถาดหรือกล่องหรือกลักที่บรรจุสไลด์เรียบร้อยแล้วใส่หรือวางบนเครื่องฉาย                                3.เสียบปลั๊กไฟจากตัวเครื่องกับแหล่งจ่ายไฟ (บางเครื่องพัดลมจะทำงานทันที)
                                4.ปิดหรือหรี่ไฟในห้องฉาย
                                5.เปิดสวิตช์พัดลมและสวิตช์หลอดฉาย
                                6.ปรับความชัดและขนาดของภาพที่ปรากฏบนจอตามต้องการ
                                7.ปรับระดับสูงต่ำของภาพ
                                8.เปลี่ยนสไลด์ภาพต่อไปตามลำดับที่ได้เตรียมมา
                                9.เมื่อใช้สไลด์เสร็จแล้วควรปิดสวิตช์หลอดฉายทันที ปล่อยให้พัดลมทำงานต่อไปจนกว่าหลอดฉายจะเย็นจึงเปิดสวิตช์พัดลม

                          การติดตั้งจอ                                                                  
                                การตั้งจอที่ดีต้องตั้งให้พื้นผิวของจอทำมุมฉากกับลำแสงที่ฉายจากเครื่องฉาย เพื่อป้องกันการบิดเบี้ยวของภาพ (Distortion) การติดตั้งจอที่ใช้ฉายในห้องเรียน เพื่อสะดวกอาจจะตั้งไว้หน้าชั้นเรียน  โดยใช้จอที่มีระบบม้วนเก็บเองโดยอัตโนมัติ  เมื่อจะใช้ก็ดึงลงมา  และปล่อยขึ้นจอจะม้วนเก็บเอง

                                ในห้องเรียนควรติดตั้งจอให้ผู้เรียนสามารถมองเห็นภาพจากการฉายได้ ทั่วทุกคน และควรจัดที่นั่งให้สมดุลกับมุมสะท้อนแสงของจอด้วย  การจัดที่นั่งผู้ดูจะต้องคำนึงถึงขนาดของจอ โดยให้ผู้นั่งแถวหน้าห่างจากจอไม่น้อยกว่า 2 เท่าความกว้างของจอ เช่น ถ้าจอกว้าง 40 ฟุต ผู้ดูแถวหน้าต้องนั่งห่างจากจอ 80 ฟุต เป็นอย่างน้อย และผู้ดูแถวหลังสุดต้องห่างจอไม่เกิน 6 เท่าของความกว้างของจอ ถ้าจอกว้าง 30 ฟุต แถวหลังสุดควรห่างจากจอไม่เกิน 180 ฟุต

                         ห้องฉาย (Projection Room)
                                สิ่งสำคัญในการควบคุมห้องฉาย มี 3 ประการคือ
                                      1.ควบคุมแสงสว่าง การใช้เครื่องฉายต้องอาศัยห้องที่ควบคุมแสงไม่เท่ากัน เช่น เครื่องฉายภาพทึบแสงจำเป็นต้องฉายในห้องมืดสนิท ส่วนเครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ ใช้ห้องที่มีความมืดมากน้อยลงตามลำดับ และเครื่องฉายที่สามารถฉายได้ในห้องที่ไม่มืดมากนักหรือห้องเรียนธรรมดาที่สว่างก็คือเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ
                                      2.ระบบเสียง  ห้องฉายที่ดีควรจะติดอะคูสติคบอร์ด (Acoustic Board) เพื่อป้องกันเสียงและทำให้เสียงไพเราะน่าฟังขึ้นอีกมาก การติดตั้งลำโพงในห้องฉายควรติดตั้งลำโพงในระดับหูของผู้ดู
                                      3.ระบบการระบายอากาศ  ห้องฉายที่ดีควรจะมีระบบอากาศที่ดีทำให้ผู้ดูสามารถที่จะอยู่ในห้องฉายได้อย่างสบาย ไม่ร้อนหรืออึดอัดเกินไป ระบบระบายอากาศจะใช้พัดลมหรือเครื่องปรับอากาศก็ได้
                        
                          สิ่งที่ควรคำนึงในการจัดห้องฉาย
                                1.ควรจัดที่นั่งผู้ดูไม่ให้บังกัน โดยจัดแต่ละแนวให้สูงต่ำลดหลั่นกันเป็นแบบอัฒจันทร์ แต่จะต้องไม่ทำให้ชันเกินไปจนน่าจะเป็นอันตรายแก่ผู้ดู
2.เครื่องฉายควรตั้งอยู่แถวหลังของผู้ดู และสูงพอที่ผู้ดูจะไม่บังแสงจากเครื่องที่ส่องสว่างไปยังจอภาพ เพราะการที่ผู้ดูบังลำแสงจะปรากฏเงาบนจอบางส่วนหรือทั้งหมด










รุจโรจน์  แก้วอุไร.//(Web Based Instruction).//เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา,วันที่สืบค้น
                   28 กรกฎาคม 2555. จาก http://www.edu.nu.ac.th/wbi/355201/p77.html
จงดี กากแก้ว.//(บทเรียนการสอนผ่านเว็บวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา).//บทเรียน
                   การสอนผ่านเว็บวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา,วันที่สืบค้น 2 สิงหาคม 2555.
                   จากhttp://www.ipecp.ac.th/ipecp.ac.th/wbi/ed-techno/program/index.html